วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ข้อมูลจังหวัดสุรินทร์



                     สถานที่ท่องเที่ยว

สถานที่ตั้งและสภาพภูมิประเทศ
สภาพทางภูมิศาสตร์
       จังหวัดสุรินทร์ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ประมาณ 8,124.056 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 5,077,535 ไร่) ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 450 กิโลเมตร
ทิศเหนือ                 ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ด  และจังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันออก        ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันตก           ติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์
ทิศใต้                      ติดต่อกับจังหวัดอุดรมีชัย ราชอาณาจักรกัมพูชา  ในพื้นที่ อำเภอ คือ บัวเชด สังขะ กาบเชิง และพนมดงรัก ความยาวตลอดแนวชายแดนประมาณ 90 กิโลเมตร
ตำบลในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์
01  ต.ในเมือง
ตำบลในเขตอำเภอเขวาสินรินทร์
01  ต.เขวาสินรินทร์
ตำบลในเขตอำเภอโนนนารายณ์
01  ต.หนองหลวง
ภูเขา
ข้อมูลจังหวัดสุรินทร์
       จังหวัดสุรินทร์ มีเทือกเขาพนมดงรักทอดยาวตามแนวเขตแดนไทย – กัมพูชา ทางด้านตอนใต้ของจังหวัด มีเขาสวายหรือพนมสวายในเขต ต.นาบัว อ.เมืองสุรินทร์ เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว มียอดเตี้ย ๆ ยอด  ยอดที่ ชื่อยอดเขาชาย (พนมเปราะ) เป็นที่ตั้งของวัดพนมสวาย และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสุรินทร มงคล ปางประทานพร ภปร. ยอดที่ ชื่อยอดเขาหญิง (พนมซแร็ย) เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ขนาดกลาง ยอดที่ 3 ชื่อยอดเขาคอก (พนมกรอล) พุทธสมาคมจังหวัดสุรินทร์ ได้สร้างศาลาอัฏฐะมุข    เพื่อเป็นอนุสรณ์ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง และสถูปบรรจุอัฐิพระราชวุฒาจารย์(หลวงปู่ดูลย์  อตุโล)  เกจิอาจารย์ที่ชาวสุรินทร์เคารพนับถือ ปัจจุบันเขาสวายได้รับการประกาศเป็น วนอุทยานพนมสวาย
       แหล่งน้ำธรรมชาติ
จังหวัดสุรินทร์มีลำน้ำธรรมชาติที่สำคัญ สาย คือ แม่น้ำมูล ลำน้ำชีน้อย ลำห้วยอารีย์ ลำห้วยพลับพลา ลำห้วยระวี ลำห้วยทับทัน ลำห้วยสำราญ และลำห้วยแก้ว เป็นลำน้ำที่ทำประโยชน์แก่จังหวัดนอกจากนั้นยังมีแหล่งน้ำอื่น ๆ ในเขตอำเภอต่าง ๆ รวมถึงแหล่งน้ำอื่นที่ไม่เอื้อประโยชน์มากนัก เนื่องจากในฤดูแล้งไม่มีน้ำอีกเป็นจำนวนมาก
 อ่างเก็บน้ำของจังหวัดมีหลายแห่ง ที่สำคัญ ได้แก่
       1. อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง  ตั้งอยู่ระหว่างบ้านเฉนียงกับบ้านโคกกะเพอ ต.เฉนียง อ.เมือง มีความจุ ที่ระดับเก็บกัก 20.022 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 เท่ากับ 13.980 ล้านลูกบาศก์เมตร (69.82% ของระดับเก็บกัก) ส่งน้ำเพื่อการเกษตรพื้นที่ชลประทาน 45,500 ไร่ เป็นแหล่งน้ำสำคัญในการผลิตน้ำประปาของจังหวัด ปีละประมาณ 8.67 ล้านลูกบาศก์เมตร และเป็นที่ตั้งของอาคารที่ประทับ  เรือนรับรองเมื่อคราวพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
        2. อ่างเก็บน้ำอำปึล  ตั้งอยู่ที่บ้านอำปึล หมู่ที่ ต.เทนมีย์ อ.เมือง มีความจุที่ระดับเก็บกัก 27.675 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 เท่ากับ 12.220 ล้านลูกบาศก์เมตร (44.16% ของระดับเก็บกัก) เป็นแหล่งน้ำสำคัญเพื่อรองรับความต้องการน้ำของอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง ส่งน้ำเพื่อการเกษตรพื้นที่ชลประทาน 3,680 ไร่ และรองรับการใช้น้ำในการอุตสาหกรรม ปีละประมาณ 540,000 ลูกบาศก์เมตร
ทรัพยากรธรรมชาติ 
       จังหวัดสุรินทร์ มีป่าสงวนแห่งชาติทั้งหมด 29 ป่า มีพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นเขตป่าตามกฎกระทรวง จำนวน 1,115,284 ไร่ (ร้อยละ 21.97 ของพื้นที่จังหวัด) มอบ สปก. จำนวน 967,056.61 ไร่  คงเหลือพื้นที่ป่าสงวนในปัจจุบัน จำนวน 148,227.39 ไร่ (ร้อยละ 13.29 ของพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นเขตป่าฯ) มีวนอุทยานจำนวน แห่ง คือ วนอุทยานพนมสวาย อ.เมืองสุรินทร์ เนื้อที่1,975 ไร่ และวนอุทยานป่าสนหนองคู อ.สังขะ เนื้อที่ 625 ไร่ มีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แห่ง  คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน ห้วยสำราญ อยู่ในพื้นที่อำเภอพนมดงรักกาบเชิงสังขะ และ บัวเชด รวมเนื้อที่ 313,750 ไร่ (502 ตารางกิโลเมตร) (แหล่งข้อมูล สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุรินทร์ ข้อมูล ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2553)
       พื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดสุรินทร์ ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดบริเวณเทือกเขาพนมดงรักในเขตอำเภอสังขะ บัวเชด กาบเชิง และ พนมดงรัก และยังมีป่าไม้กระจัดกระจายเป็นหย่อม ๆ ในเขตอำเภอปราสาท  เมืองสุรินทร์ ท่าตูม รัตนบุรี ลำดวน และ ศีขรภูมิ ต้นไม้ที่มีอยู่โดยทั่วไปในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ ต้นเต็ง รัง ยาง ประดู่ พะยูง ตาด แดง กะบาก และอื่น ๆ รวมทั้งต้นมันปลาหรือต้นกันเกรา ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์ จากการที่ป่าไม้ถูกทำลายมาก จึงมีการปลูกป่าทดแทน หรือปลูกไม้โตเร็วเพื่อการใช้สอย เช่น ต้นกระถินณรงค์ และต้นยูคาลิปตัส เกือบทุกอำเภอ นอกจากนั้นมีการปลูกต้นยางพาราที่อำเภอกาบเชิง พนมดงรัก และ ศรีณรงค์ บางอำเภอสามารถกรีดยางได้แล้ว  ส่วนทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ที่มีอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ บ่อหินลูกรัง (อ.ท่าตูม  อ.สำโรงทาบ  อ.สังขะ) และทรายแม่น้ำมูลที่นำมาใช้ในการก่อสร้าง  (อ.ท่าตูม  อ.ชุมพลบุรี) 
       เกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์ส่วนใหญ่จะเลี้ยงโค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ ส่วนสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น แพะ  แกะ ไก่งวง ห่าน มีการเลี้ยงน้อยมาก การเลี้ยงสัตว์นั้นจะเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมเกือบทุกครัวเรือน โดยเลี้ยงสัตว์หลาย ๆ  ชนิดรวมกันในบริเวณบ้านหรือใต้ถุนบ้าน  เป็นการเลี้ยงแบบดั้งเดิมตามที่บรรพบุรุษเคยเลี้ยงมา     ไม่ค่อยมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ มากนัก  แต่ที่พิเศษกว่าจังหวัดอื่น คือ  การเลี้ยงช้าง  ซึ่งเลี้ยงกันมาก        ที่หมู่บ้านช้าง (บ้านตากลาง)  อ.ท่าตูม
ส่วนสัตว์น้ำที่มีอยู่ในจังหวัดสุรินทร์  ส่วนมากเป็นปลาน้ำจืดที่มีอยู่ทั่วไปเหมือนกับจังหวัดอื่น ๆ  เช่น  ปลาดุก  ปลาช่อน  ปลาหมอ  รวมทั้งปลาน้ำจืดอื่น ๆ ที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสุรินทร์  เพาะเลี้ยงและให้การสนับสนุน  ส่วนทรัพยากรแร่ธาตุต่าง ๆ นั้น ยังไม่มีการพบแต่อย่างใด  
คงมีเพียงหินสีต่าง ๆเท่านั้น  

สถานที่ท่องเที่ยว
       
ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดสุรินทร์  ด้าน

โบราณสถาน



อำเภอพนมดงรัก จ.สุรินทร์ 

โบราณสถานกลุ่มปราสาทตาเมือน




                                        
โบราณสถานกลุ่มปราสาทตาเมือน ตั้งอยู่ที่บ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง เป็นโบราณสถานแบบขอม หลัง ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ติดแนวชายแดนประเทศไทยและกัมพูชา ปราสาทตาเมือน เป็นสิ่งก่อสร้างที่เชื่อว่าคือที่พักคนเดินทางแห่งหนึ่งใน 17แห่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่ มหาราชองค์สุดท้ายแห่งเมืองพระนครโปรดให้สร้างขึ้นจากเมืองยโสธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณไปยังเมืองพิมาย ปราสาทตาเมือนสร้างด้วยศิลาแลงเช่นเดียวกับโบราณสถานสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ที่พบในดินแดนประเทศไทย มีลักษณะเป็นปรางค์องค์เดียวมีห้อยยาวเชื่อมต่อมาทางด้านหน้า ผนังด้านหนึ่งปิดทึบ แต่สลักเป็นหน้าต่างหลอก ส่วนอีกด้านมีหน้าต่างเรียงกันโดยตลอด เคยมีผู้พบทับหลังเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิในซุ้มเรือนแก้ว 2-3 ชิ้น




ปราสาทตาเมือนโต๊ด
      
เป็นอโรคยาศาล สร้างขึ้นในพืทธศตวรรษที่ 18 ยังคงสภาพเกือบจะสมบูรณ์ ประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขยื่นทางด้านหน้า ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีบรรณาลัยอยู่ทางด้านหน้าเยื้องไปทางขวาขององค์ปรางค์ ล้อมรอบด้วยกำแพงก่อศิลาแลงเช่นเดียวกัน มีซุ้มประตู (โคปุระ) อยู่ด้านหน้า คือ ด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว นอกกำแพงด้านหน้ามีสระน้ำเช่นเดียวกับอโรคยาศาลแห่งอื่น ๆ ตรงห้องกลางของโคปุระได้พบศิลาจารึก หลัก จารึกด้วยอักษรขอมภาษาสันสกฤต เป็นจารึกซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ โปรดให้สร้างไว้ประจำอโรคยาศาลแห่งนี้ มีข้อความเช่นเดียวกับจารึกที่พบที่อโรคยาศาลแห่งอื่น ๆ คือ กล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าพระไภษัชยคุรุไวฑูรยะ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ผู้ประทานความไม่มีโรคแก่ประชาชนผู้นับถือ และกล่าวถึงการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำสถานพยาบาลในแผนกต่าง ๆ เช่น แพทย์ ผู้ดูแลสถานพยาบาล ปัจจุบันจารึกหลักนี้เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติท่าวาสุกรี 






ปราสาทตาเมือนธม


 อยู่ถัดจากปราสาทตาเมือนโต๊ดไปทางทิศใต้ประมาณ 200 เมตร เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือน บนแนวเทือกเขาบรรทัด ประกอบด้วยปรางค์สามองค์ มีปรางค์ประธานขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ตรงกลาง ปรางค์อีกสององค์อยู่ถัดไปด้านหลังทางด้านขวาและซ้าย ปรางค์ทั้งสามองค์สร้างด้วยหินทรายหันหน้าไปทางทิศใต้ ที่ปรางค์ประธานมีลวดลายจำหลักที่งดงาม แม้ว่าจะถูกลักลอบทำลายและทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ทางด้านตะวันออกและตะวันตก มีวิหารสองหลังสร้างด้วยศิลาแลง อาคารทั้งหมดมีระเบียงคดซึ่งสร้างด้วยหินทรายล้อมรอบ มีโคปุระทั้งสี่ด้าน โคปุระด้านใต้มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีบันไดทางขึ้นจากเชิงเขาด้านนั้น นอกระเบียงคดทางด้านทิศเหนือมีสระน้ำ และที่ลานริมระเบียงคดทางมุขด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้มีศิลาจารึกภาษาขอม กล่าวถึงชื่อ พระกัลปกฤษณะ จึงสันนิษฐานได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์ จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมและลวดลายจำหลักต่าง ๆ ทำให้ทราบได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ซึ่งเก่าแก่กว่าโบราณสถานอีกสองแห่งในกลุ่มปราสาทตาเมือน
การเดินทาง จากจังหวัดสุรินทร์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 214 ผ่านอำเภอปราสาท แยกไปตามทางหลวงหมายเลข 2121 ที่จะไปอำเภอบ้านกรวดประมาณ 25 กิโลเมตร มีทางแยกที่บ้านตาเมียง ไปอีก 13 กิโลเมตร
เนื่องจากโบราณสถานกลุ่มนี้อยู่ใกล้ชายแดนไทย-กัมพูชาและสภาพถนนยังเป็นลูกรังขรุขระ นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้าไปชมควรคำนึงถึงความปลอดภัยในบริเวณดังกล่าว โดยสอบถามข้อมูลจากหน่วยงานทหารที่ดูแลพื้นที่ก่อนเดินทางเข้าไปด้วย




ปราสาทจอมพระ


อำเภอจอมพระ จ.สุรินทร์
           ปราสาทจอมพระ ตั้งอยู่หมู่ ตำบลจอมพระ ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ประมาณ 26 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 214 (สายสุรินทร์-ร้อยเอ็ด) เข้าตัวอำเภอจอมพระ มีทางแยกขวามือเข้าวัดป่าปราสาทจอมพระอีก กิโลเมตรปราสาทจอมพระมีลักษณะของสิ่งก่อสร้างที่เรียกว่า อโรคยศาล มีโครงสร้างที่ยังสมบูรณ์อยู่มาก อาคารต่าง ๆ ก่อด้วยศิลาแลงและใช้หินทรายประกอบ หันหน้าไปทางทิศตะวันออกมีส่วนประกอบหลัก ส่วน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะแบบอโรคยศาลดังที่พบในที่อื่น คือ ปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขหน้า บรรณาลัยหรืออาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตั้งอยู่ทางด้านหน้า มีกำแพงล้อมรอบพร้อมซุ้มประตูรูปกากบาทและสระน้ำนอกกำแพง โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ เศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เศียร และรูปพระวัชรสัตว์ องค์เช่นเดียวกัยที่พบที่อโรคยศาลในอำเภอพิมายและที่พระปรางค์วัดกู่แก้ว จังหวัดขอนแก่น โบราณวัตถุเหล่านี้เป็นรูปเคารพในพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน มีลักษณะตรงกับศิลปะขอมแบบบายน (ราว พ.ศ. 1720-1780) ซึ่งเป็นแบบศิลปะที่เจริญอยู่ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่7
 การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ประมาณ 26 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 214 (สายสุรินทร์-ร้อยเอ็ด) เข้าตัวอำเภอจอมพระ มีทางแยกขวามือเข้าวัดป่าปราสาทจอมพระอีก กิโลเมตร


ปราสาทศีขรภูมิ

อำเภอศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
ปราสาทศีขรภูมิ ตั้งอยู่ที่ตำบลระแงง ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ 34 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 226 โดยอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปอีก กิโลเมตร ปราสาทศีขรภูมิประกอบด้วยปรางค์อิฐ องค์ องค์กลางเป็นปรางค์ประธาน มีปรางค์บริวารล้อมรอบอยู่ที่มุมทั้งสี่บนฐานเดียวกัน ก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง ปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้นและประตูทางเข้าเพียงด้านเดียวคือด้านทิศตะวันออก ปรางค์ทั้งห้าองค์มีลักษณะเหมือนกัน คือ องค์ปรางค์ไม่มีมุข มีชิ้นส่วนประดับทำจากหินทรายสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ ทั้งส่วนที่เป็นทับหลังและเสาประดับกรอบประตู เสาติดผนัง และกลีบขนุนปรางค์ ส่วนหน้าบันเป็นอิฐประดับลวดลายปูนปั้น องค์ปรางค์ประธานมีทับหลังสลักเป็นรูปศิวนาฏราช (พระอิศวรกำลังฟ้อนรำ) บนแท่น มีหงส์แบก ตัวอยู่เหนือเศียรเกียรติมุข มีรูปพระคเนศ พระพรหม พระวิษณุ และนางปารพตี (นางอุมา) อยู่ด้านล่าง เสาประตูสลักเป็นลวดลายเทพธิดาลายก้ามปูและรูปทวารบาลส่วนปรางค์บริวารพบทับหลัง ชิ้น ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย เป็นภาพกฤษณาวตาร ทั้งสองชิ้น ชิ้นหนึ่งเป็นภาพกฤษณะฆ่าช้างและคชสีห์ ส่วนอีกชิ้นหนึ่งเป็นภาพพระกฤษณะฆ่าคชสีห์ จากลวดลายที่เสาและทับหลังขององค์ปรางค์ มีลักษณะปนกันระหว่างรูปแบบศิลปะขอมแบบบาปวน (พ.ศ. 1550-1650) และแบบนครวัด (พ.ศ. 1650-1700)จึงอาจกล่าวได้วา ปราสาทแห่งนี้คงสร้างขึ้นในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 17 หรือต้นสมัยนครวัด โดยสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย และคงถูกดัดแปลงให้เป็นวัดในพุทธศาสนา ตามที่มีหลักฐานการบูรณะปฏิสังขรณ์ในราวพุทธศตวรรษที่ 22 ในสมัยอยุธยาตอนปลายปราสาทศีขรภูมิเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00-16.30 น. อัตราค่าเข้าชมชาวไทย คนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศ30 บาท




ปราสาทภูมิโปน

อำเภอสังขะ จ.สุรินทร์
        ปราสาทภูมิโปน ตั้งอยู่ที่บ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ การเดินทางจากจังหวัดสุรินทร์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 2077 (สายสุรินทร์-สังขะ) ระยะทาง 49 กิโลเมตร จากแยกอำเภอสังขะเข้าทางหลวงหมายเลข 2124 (สังขะ-บัวเชด) ตรงต่อไปจนถึงบ้านภูมิโปนอีก 10 กิโลเมตร จะเห็นปราสาทอยู่ริมถนนด้านซ้ายมือปราสาทภูมิโปนประกอบด้วยโบราณสถาน หลัง คือ ปราสาทก่ออิฐ 3หลัง และก่อศิลาแลง หลัง มีอายุการก่อสร้างอย่างน้อยสองสมัย ปราสาทก่ออิฐหลังใหญ่และหลังทางทิศเหนือสุด นับเป็นปราสาทแบบศิลปะเขมรที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย คือราวพุทธศตวรรษที่ 13 ส่วนปราสาทอิฐหลังเล็กที่ตั้งตรงกลางและปราสาทที่มีฐานศิลาแลงทางด้านทิศใต้นั้น สร้างขึ้นในสมัยหลังปราสาทภูมิโปนคงสร้างขึ้น เพื่อเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดูไศวนิกาย เช่นเดียวกับศาสนสถานแห่งอื่นในรุ่นเดียวกัน แม้ไม่พบรูปเคารพซึ่งควรจะเป็นศิวลึงค์อยู่ภายในปรางค์ แต่ที่ปรางค์องค์ใหญ่ยังมี ท่อโสมสูตร คือ ท่อน้ำมนตร์ที่ต่อออกมาจากแท่นฐานรูปเครรพในห้องกลางติดอยู่ที่ผนังในระดับพื้นห้อง
    การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 2077 (สายสุรินทร์-สังขะ) ระยะทาง 49 กิโลเมตร จากแยกอำเภอสังขะเข้าทางหลวงหมายเลข2124 (สังขะ- บัวเชด) จนถึงบ้านภูมิโปนอีก 10 กิโลเมตร จะเห็นปราสาทอยู่ริมถนนด้านซ้ายมือ

                           


ปราสาทยายเหงา


อำเภอสังขะ จ.สุรินทร์
       ปราสาทยายเหงา ตั้งอยู่ที่บ้านสังขะ ตำบลสังขะ ห่างจากที่ว่าการอำเภอสังขะไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ กิโลเมตร อยู่ริมถนนสายโชคชัย-เดชอุดม (ทางหลวงหมายเลข 24) ระหว่าง กม. 189-190 แยกไปตามทางลูกรังอีก 800 เมตร เป็นศาสนสถานแบบขอมที่ประกอบด้วยปรางค์ องค์ ตั้งอยู่เรียงกันในแนวทิศเหนือ-ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก องค์ปรางค์ก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง มีการแกะสลักอิฐเป็นลวดลายเช่นที่กรอบหน้าบัน เป็นรูปมกร (สัตว์ผสมระหว่างสิงห์ ช้าง และปลา) คาบนาคห้าเศียรจากลักษณะแผนผังของอาคารน่าจะประกอบด้วยปราสาท องค์ตั้งเรียงกัน แต่ปัจจุบันเหลือเพียง องค์ บริเวณปราสาทพบกลีบขนุนยอดปรางค์ เสาประดับกรอบประตู แกะสลักจากหินทราย จัดแสดงไว้ด้านหน้าปราสาท
การเดินทาง ห่างจากที่ว่าการอำเภอสังขะ ประมาณ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 24 โชคชัย-เดชอุดม) ระหว่างกิโลเมตรที่189-190 แยกไปตามทางลูกรังอีก 800 เมตร


 
ปราสาทบ้านไพล

อำเภอปราสาท จ.สุรินทร์
       ปราสาทบ้านไพล ตั้งอยู่ที่บ้านปราสาท ตำบลเชื้อเพลิง ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ประมาณ 22 กิโลเมตร (ก่อนถึงที่ว่าการอำเภอปราสาท กิโลเมตร) มีทางแยกขวาไปตามถนนลาดยางอีก 3กิโลเมตร ตัวปราสาทมีลักษณะเป็นปรางค์ องค์ สร้างด้วยอิฐขัดตั้งเรียงเป็นแนวเดียวกัน มีคูน้ำล้อมรอบ ยกเว้นทางเข้าด้านทิศตะวันออก แม้ว่าศิวลึงค์และทับหลังบางส่วนจะหายไป แต่จากเศษทับหลังที่เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ทำให้ทราบว่าปราสาทหลังนี้คงสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16




ปราสาทหินบ้านพลวง

อำเภอปราสาท จ.สุรินทร์
          ปราสาทหินบ้านพลวง ตั้งอยู่ที่บ้านพลวง ตำบลกังแอน ห่างจากที่ว่าการอำเภอปราสาท กิโลเมตรตามถนนสายสุรินทร์-ปราสาท-ช่องจอม (ทางหลวงหมายเลข 214) มีทางแยกซ้ายมือที่กม. 34-35ไปอีกราว กิโลเมตร ปราสาทหินบ้านพลวงเป็นปราสาทหินขนาดเล็กแต่ฝีมือการสลักหินประณีตงดงามมาก ได้รับการขุดแต่งบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยวิธีอนัสติโลซิส คือการรื้อตัวปราสาทลง เสริมความมั่นคง และประกอบขึ้นใหม่ดังเดิม ลักษณะของปราสาทหินองค์นี้เป็นปรางค์องค์เดียว ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูทางเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียวส่วนด้านอื่นอีกสามด้านทำเป็นประตูหลอก องค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาแลง หินทราย และมีอิฐเป็นวัสดุร่วมก่อสร้างในส่วนบนของปราสาท โบราณสถานแห่งนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมจำหลักลายงดงามมาก แต่องค์ปรางค์เหลือเพียงครึ่งเดียว ส่วนยอดหักหายไป มีคูน้ำเป็นรูปตัวยูล้อมรอบ ถัดจากคูน้ำเป็นบาราย (สระน้ำขนาดใหญ่) ที่เห็นเป็นคันดิน เดิมคงเป็นที่ตั้งของแหล่งชุมชนมาก่อนลักษณะของทับหลังที่พบส่วนมาก สลักเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณอยู่ภายในซุ้มเหนือหน้ากาล มีซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ ส่วนทางด้านเหนือสลักเป็นรูปพระกฤษณะฆ่านาค สันนิษฐานได้ว่า ปราสาทแห่งนี้คงสร้างขึ้นสำหรับพระอินทร์ นอกจากนี้ช่างมักสลักเป็นรูปสัตว์เรียงเป็นแนว เช่น ช้าง กระรอก หมู ลิง และวัว อยู่บนทับหลังสำหรับด้านทิศตะวันออกสลักเป็นรูปพระกฤษณะ ยกภูเขาโควรรธนะและเช่นเดียวกัน มีรูปสลักเป็นรูปสัตว์เล็ก ๆ นอกกรอบหน้าบันอันน่าจะแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ เพราะมีแหล่งน้ำต่าง ๆ อยู่มาก ที่ผนังด้านหน้ามีรูปทวารบาลยืนกุมกระบอง ลักษณะของปราสาทหินองค์นี้คล้ายกับปรางค์น้อยบนเขาพนมรุ้ง ลวดลายเป็นลักษณะศิลปะขอมแบบบาปวน กำหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 จากลักษณะของฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทางด้านข้างขององค์ปรางค์เหลืออยู่มาก สันนิษฐานว่า แผนผังที่แท้จริงของปราสาทแห่งนี้น่าจะประกอบด้วยปรางค์สามองค์สร้างเรียงกัน แต่อาจยังสร้างไม่เสร็จหรืออาจถูกรื้อออกไปอย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นได้ปราสาทหินบ้านพลวงเปิดให้ชมทุกวัน ระหว่างเวลา 07.30-18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท


ปราสาทเมืองที

อำเภอเมือง จ.สุรินทร์
    ปราสาทเมืองที ตั้งอยู่หมู่ที่ ตำบลเมืองที ภายในบริเวณวัดจอมสุทธาวาส ปราสาทเมืองทีเป็นปราสาทแบบเขมรที่ได้รับการดัดแปลงในสมัยหลัง เช่นเดียวกับปราสาทศรีขรภูมิ ปราสาทก่อด้วยอิฐฉาบปูน มี หลัง สร้างรวมกันเป็นหมู่บนฐานเดียวกันหลังหนึ่งอยู่ตรงกลาง และอีก หลังอยู่ที่มุมทั้ง 4 ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง หลังซึ่งมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง หลังกลางมีขนาดใหญ่สุด มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน ตัวเรือนธาตุตันทึบไม่มีประตูเนื่องจากการดัดแปลง ส่วนหลังคาทำเป็นชั้นมี ชั้นเลียนแบบตัวเรือนธาตุ ส่วนยอดบนหักหาย นับเป็นโบราณสถานเขมรอีกแบบหนึ่งที่นิยมสร้าง คือ มีปราสาทหลังกลางเทียบเท่าเขาพระสุเมรุ และมีปรางค์มุมทั้งสี่ตามความเชื่อในลัทธิศาสนาพราหมณ์ แต่ไม่พบจารึกหรือลวดลายทางศิลปะที่สามารถบอกว่าสร้างขึ้นเมื่อใด
     การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 16 กิโลเมตร ตามเส้นทางสุรินทร์-ศรีขรภูมิ ทางหลวงหมายเลข 226 จนถึงบ้านโคกลำดวน เลี้ยวซ้ายเข้าวัดจอมสุทธาวาส
ปราสาทตะเปียงเตีย (แปลว่า หนองเป็ด)
อำเภอลำดวน จ.สุรินทร์

       ปราสาทตะเปียงเตีย (แปลว่า หนองเป็ด) ตั้งอยู่หมู่ที่ ตำบลโชกเหนือ ภายในบริเวณวัดปราสาทเทพนิมิตร หลักกม. 33-34ทางหลวงหมายเลข 2077 แยกเข้าทางลูกรังอีก กิโลเมตร ลักษณะปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยม มียอดปราสาท ยอด เป็นรูปบัวตูม ตัวปราสาทก่อด้วยอิฐ ลักษณะการก่อสร้างเป็นสถาปัตยกรรมแบบลาว สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย



อนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง 



(ปุม)

อำเภอเมือง จ.สุรินทร์
        อนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2511 เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงผู้สร้างเมืองท่านแรก ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของเมืองสุรินทร์ อนุสาวรีย์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ทางเข้าเมืองสุรินทร์ทางด้านใต้ ตรงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ ที่ถนนสุรินทร์-ปราสาท เป็นบริเวณที่เคยเป็นกำแพงเมืองชั้นในของตัวเมืองสุรินทร์ อนุสาวรีย์เป็นรูปหล่อทองเหลืองรมดำ สูง 2.2 เมตร มือขวาถือของ้าว อันเป็นการแสดงถึงความเก่งกล้าสามารถของท่านในการบังคับช้างศึก และเป็นเครื่องแสดงว่าสุรินทร์เป็นเมืองช้างมาแต่ดึกดำบรรพ์ รูปปั้นสะพายดาบคู่อยู่บนหลังอันหมายถึงความเป็นนักรบ ความกล้าหาญอันเป็นคุณสมบัติที่ตกทอดเป็นมรดกของคนสุรินทร์ อนุสาวรีย์แห่งนี้ได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2528





ศาลหลักเมืองสุรินทร์
อำเภอเมือง จ.สุรินทร์
       ศาลหลักเมืองสุรินทร์ เป็นสถานที่สำคัญและเป็นที่นับถือคู่บ้านคู่เมืองของชาวสุรินทร์ อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศตะวันตกประมาณ 500 เมตร เดิมเป็นเพียงศาลไม่มีเสาหลักเมือง มีมานานกว่าร้อยปี เมื่อปี พ.ศ. 2511 กรมศิลปากรได้ออกแบบสร้างศาลหลักเมืองใหม่ เสาหลักเมืองเป็นไม้ชัยพฤกษ์มาจากนายประสิทธิ์ มณีกาญจน์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเสาไม้สูง 3เมตร วัดโดยรอบเสาได้ เมตร ทำพิธียกเสาหลักเมืองและสมโภช เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2517

 

วัดบูรพาราม
อำเภอเมือง จ.สุรินทร์

       
   วัดบูรพาราม ตั้งอยู่ที่ถนนกรุงศรีใน ตำบลในเมือง ใกล้กับศาลากลางจังหวัด เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดของจังหวัด คือ หลวงพ่อพระชีว์ (หลวงพ่อประจี) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ศอก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นมาพร้อมกับวัดบูรพาราม นอกจากนี้ผู้มาเยือนยังได้แวะนมัสการรูปเหมือนหลวงปู่ดูลย์ อตุโลอีกด้วยวัดบูรพารามนี้เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี หรือในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีอายุประมาณ 200 ปี เท่ากับอายุเมืองสุรินทร์ สร้างโดยพระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดบูรพารามขึ้นเป็นพระอารามหลวงตั้งแต่วันที่ กุมภาพันธ์ 2520

วนอุทยานพนมสวาย

อำเภอเมือง จ.สุรินทร์
       วนอุทยานพนมสวาย เป็นที่ตั้งของวัดพนมสวาย มีบันไดก่ออิฐถือปูนขึ้นถึงวัด มีสระน้ำกว้างใหญ่และร่มรื่นด้วยต้นไม้ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสุรินทรมงคลปางประทานพร ภปร. ยอดที่ มีชื่อว่ายอดเขาหญิง (พนมสรัย) สูงระดับ 228 เมตร ทางวัดได้จัดสร้างพระพุทธรูปองค์ขนาดกลางประดิษฐานไว้ ยอดที่ มีชื่อว่าเขาคอก (พนมกรอล) พุทธสมาคมจังหวัดสุรินทร์ได้จัดสร้างศาลาอัฏฐะมุข เป็นอนุสรณ์ฉลองครบรอบ 200 ปี แห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เพื่อประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง จากยอดเขาชายมาประดิษฐานไว้ในศาลา โดยเริ่มทำการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2524 และสำเร็จบริบูรณ์ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2525 ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงเป็นวนอุทยานแล้ว บรรพบุรุษชาวสุรินทร์ถือว่าเป็นสถานที่แสวงบุญ โดยการเดินทางไปขึ้นยอดเขาในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน ซึ่งเป็นวันหยุดงานตามประเพณีของชาวจังหวัดสุรินทร์มาแต่โบราณกาล


หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านจันรม
อำเภอเมือง จ.สุรินทร์

    หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านจันรม ตั้งอยู่ที่ตำบลตาอ็อง ทางตะวันออกของตัวเมือง ตามทางสายสุรินทร์-สังขะ (ทางหลวงหมายเลข 2077)ประมาณ กม.ที่ 12 ที่หมู่บ้านจันรมมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมกันเอง แล้วนำมาทอเป็นผ้าไหมที่มีลวดลายและสีแบบโบราณหมู่บ้านหัตถกรรมเขวาสินรินทร์
       อำเภอเขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์หมู่บ้านหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ ตั้งอยู่ทางเหนือของตัวเมืองสุรินทร์ ตามทางหลวงหมายเลข 214 (ทางสายสุรินทร์-ร้อยเอ็ด) ไปประมาณ 14 กิโลเมตร แยกขวามือไปอีก กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการทอผ้าไหมพื้นเมืองและการผลิตลูกประคำเงิน ที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน เรียกกันว่า ลูกปะเกือม นำมาทำเป็นเครื่องประดับของสุภาพสตรีที่สวยงาม มีร้านค้าจำหน่ายสินค้าในบริเวณหมู่บ้าน ราคาย่อมเยา

หมู่บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์
อำเภอท่าตูม จ.สุรินทร์
      
อำเภอท่าตูม จ.สุรินทร์


       หมู่บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่หมู่ที่ และ 13 บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม พื้นที่หมู่บ้านเป็นที่นาและป่าละเมาะสลับกับป่าโปร่ง เหมาะกับการเลี้ยงช้างชาวบ้านตากลางดั้งเดิมเป็นชาวส่วย หรือ กูย หรือ กวย มีความชำนาญในการคล้องช้างป่า ฝึกหัดช้างและเลี้ยงช้าง ส่วนมาต้องเดินทางไปคล้องช้างบริเวณชายแดนต่อเขตประเทศกัมพูชา ปัจจุบันสภาวะการเมืองระหว่างประเทศทำให้ชาวบ้านไม่สามรถไปคล้องช้างเช่นแต่ก่อนได้ แต่ชาวบ้านตากลางยังคงเลี้ยงช้างและฝึกช้างเพื่อไปร่วมแสดงในงานช้างของจังหวัดทุกปี
การเลี้ยงช้างของชาวบ้านตากลาง ไม่เหมือนการเลี้ยงช้างของชาวภาคเหนือที่เลี้ยงไว้ใช้งาน แต่ชาวบ้านตากลางเลี้ยงช้างไว้เป็นเพื่อน นอนร่วมชายคาเดียวกับตน ดังนั้นถ้าท่านได้ไปที่บ้านตากลาง นอกจากจะได้เห็นสภาพโรงช้างดังกล่าวแล้ว ยังได้สัมผัสการดำรงชีวิตของชาวส่วย พร้อมทั้งได้พบปะพูดคุยกับหมอช้างที่มีประสบการณ์ในการคล้องช้างมาแล้ว และยังสามารถเดินทางไปชมบริเวณที่แม่น้ำชีและแม่น้ำมูลไหลมาบรรจบกัน ซึ่งห่างออกไปเพียง กิโลเมตร มีทัศนียภาพที่งดงามน่าพักผ่อนและชวนให้ศึกษาในเชิงธรรมชาติด้วย นอกจากนี้ทางจังหวัดยังได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ช้างขึ้นภายในหมู่บ้านด้วย เพื่อรวบรวมประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับช้าง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการคล้องช้าง และให้ความรู้ในเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับช้าง
ชาวบ้านตากลางได้จัดให้มีการแสดงช้างสำหรับนักท่องเที่ยว มีบริการนั่งหลังช้างชมหมู่บ้าน และโฮมสเตย์สำหรับผู้ต้องการพักค้างแรมและเรียนรู้วิถีชีวิตคนกับช้าง ติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์คชศึกษาบ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม โทร.0 4414 5050,0 4451 1975
  การเดินทาง อยู่ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ไปทางเหนือตามทางหลวงหมายเลข 214 (สุรินทร์-ร้อยเอ็ด) ก่อนถึงอำเภอท่าตูม มีทางแยกซ้ายบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 36 ไปตามทางราดยางอีกประมาณ 22 กิโลเมตร






พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์

       พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์ ตั้งอยู่ที่ถนนสุรินทร์-ปราสาท หมู่ที่ 13 ตำบลเฉนียง มีการจัดแสดงเป็น ส่วน คือ อาคารที่ 1เป็นโถงทางเข้าและทางเดิน อาคารที่ เป็นส่วนการศึกษา ประกอบด้วย ห้องประชุม ห้องกิจกรรม ห้องรับรอง ห้องสมุด อาคารที่ 3เป็นอาคารจัดแสดงและสำนักงาน ประกอบด้วย ห้องนิทรรศการถาวร ห้องนิทรรศการชั่วคราว ห้องทำงานเจ้าหน้าที่ อาคารที่ เป็นคลังพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วย ห้องคลังโบราณวัตถุ ห้องปฏิบัติการอนุรักษ์และสงวนรักษา เนื้อหาการจัดแสดงในห้องนิทรรศการของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ กรมศิลปากรได้รับความร่วมมือจากผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่นช่วยค้นคว้าและรวบรวม โดยการจัดแสดงแบ่งออกเป็น เรื่อง คือ ธรรมชาติวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์เมือง ชาติพันธุ์วิทยา และมรดกดีเด่นประจำจังหวัด โดยจัดแสดงในอาคารที่ ดังนี้

       ชั้นล่าง จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาในด้านต่างๆ ประวัติศาสตร์โบราณคดีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ประวัติศาสตร์เมืองตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน และมรดกดีเด่นในเรื่องการเลี้ยงช้าง
       ชั้นบน จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับชาติพันธุ์ของชาวไทยเชื้อสายเขมร ชาวไทยเชื้อสายลาว ชาวไทยเชื้อสายกูย และชาวไทยโคราช ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ และมรดกดีเด่นในงานหัตถกรรมและศิลปะการแสดงพื้นบ้านในด้านต่างๆ
       1. ธรรมชาติวิทยา ในส่วนนี้จัดแสดงเรื่องกายภาพของจังหวัดสุรินทร์ เนื้อหาประกอบด้วย สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ลักษณะทางธรณีวิทยา ปฐพีวิทยา ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังจัดแสดงเรื่องข้าวและการทำนาด้วย เนื่องจากพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีแห่งหนึ่ง โดยใช้เทคนิคการจัดแสดงที่น่าสนใจ เพื่อให้ผู้ชมมีความเข้าใจเนื้อหา และเกิดความเพลิดเพลินในการเข้าชม
       2. ประวัติศาสตร์โบราณคดี มีเนื้อหาเกี่ยวกับพัฒนาการของผู้คน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบหลักฐานในจังหวัดสุรินทร์ตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,000 - 1,500 ปีมาแล้ว สมัยวัฒนธรรมทวารวดีซึ่งเริ่มประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 สมัยวัฒนธรรมขอมมีอายุประมาณตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 - 18 จนถึงสมัยวัฒนธรรมล้านช้าง-อยุธยาในพุทธศตวรรษที่ 24 ในการจัดแสดง จะจำลองสภาพชีวิตและพิธีกรรมการฝังศพครั้งที่สองในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุสมัยทวารวดี ขอม และอยุธยา-ล้านช้าง ที่พบในจังหวัดสุรินทร์ หุ่นจำลองโบราณสถานประกอบการฉายวีดีทัศน์ เพื่อให้ผู้ชมได้เกิดความเข้าใจในการศึกษาทางด้านโบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลปะที่พบในจังหวัดสุรินทร์
       3. ประวัติศาสตร์เมือง เนื้อหาในส่วนนี้นำเสนอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุรินทร์ โดยเริ่มจากชาวกูยช่วยจับช้างเผือกที่หลุดมาจากกรุงศรีอยุธยา และได้รับความดีความชอบตั้งเป็นบ้านเมือง การปฏิรูปการปกครองมาเป็นระบบเทศาภิบาลและระบอบประชาธิปไตย ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ สังคม ประชากร และการศึกษา ในการจัดแสดง จะจำลองเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์ เช่น การจับช้างเผือก การเดินรถไฟมาถึงจังหวัดสุรินทร์ สภาพตลาดการค้าในยุคแรกๆ สภาพการศึกษาในอดีต โดยจำลองลงในตู้จัดแสดง ให้ผู้ชมสามารถซึมซับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมืองสุรินทร์ในอดีต จนมาเป็นจังหวัดสุรินทร์ปัจจุบัน
       4. ชาติพันธุ์วิทยา เนื้อหาจะกล่าวถึงประชากรในจังหวัดสุรินทร์ ที่ประกอบด้วยชน กลุ่มใหญ่ คือ ชาวกูย กลุ่มชนที่มีความสามารถในการจับและฝึกช้าง ชาวเขมร กลุ่มชนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์มานานแล้ว ชาวลาว กลุ่มชนที่อพยพเข้ามาอยู่หลังสุด และชาวไทยโคราช เป็นชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่แถบจังหวัดนครราชสีมา ในการจัดแสดง จะจำลองให้เห็นวิถีชีวิตของคนกลุ่มต่างๆ โดยการจำลองบ้านเรือน หุ่นจำลองการประกอบพิธีกรรมของชาวไทยกูย ไทยเขมร ภาพถ่ายและภาพวาดเกี่ยวกับขนบประเพณี และสภาพความเป็นอยู่ของชาวไทยลาวและชาวไทยโคราช ซึ่งจะสื่อถึงสภาพวิถีชีวิต ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน ที่ประกอบกันเป็นคนสุรินทร์ในปัจจุบันนอกจากนี้ ยังมีข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องบรรจุอยู่ใน Computer Touchscreen ให้ศึกษาค้นคว้าได้โดยละเอียด
       
5. มรดกดีเด่น เนื้อหาจะกล่าวถึงมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์ที่โดดเด่น และเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ งานศิลปหัตถกรรม ได้แก่ การทำเครื่องประดับเงินและการทอผ้าไหม ศิลปการแสดงพื้นบ้าน ได้แก่ การแสดงเรือมต่างๆ การละเล่นเจรียงแบบต่างๆ รวมถึงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงกันตรึม และการเลี้ยงช้าง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ในส่วนการจัดแสดง จะใช้หุ่นจำลอง ภาพถ่าย และวีดีทัศน์ เป็นสื่อให้เห็นถึงการผลิตและใช้ประโยชน์จากงานหัตถกรรม หุ่นจำลองและวีดีทัศน์เรื่องการจัดแสดงศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ฉากจำลองบรรยากาศหมู่บ้านเลี้ยงช้าง และวีดีทัศน์ ให้ผู้เข้าชมได้ทราบถึงมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นสุรินทร์ที่มีมาในอดีต และยังคงรับใช้ชุมชนอยู่ในปัจจุบัน โบราณวัตถุที่จัดแสดง จัดแสดงตัวอย่างพันธุ์พืชและสัตว์ เครื่องมือ เครื่องใช้สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประติมากรรมและชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมเขมร อาวุธโบราณ เครื่องประดับเงิน ผ้าไหม ฯลฯ พิพิธภัณฑ์นี้เปิดทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. เว้นวันจันทร์-อังคาร และวันนักขัตฤกษ์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4451 3358 


หมู่บ้านทอผ้าไหมยกทอง จันทร์โสมา
อำเภอเมือง จ.สุรินทร์
         หมู่บ้านทอผ้าไหมยกทอง จันทร์โสมา บ้านท่าสว่าง หมู่บ้านที่ได้รับการยกย่องว่า"ทอผ้าไหมหนึ่งพันสี่ร้อยสิบหกตะกอ" เมื่อครั้งทอผ้ายกทองทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ จากการริเริ่มผลงานศิลปหัตกรรมของกลุ่มทอผ้ายกทอง"จันทร์โสมา" ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูการทอผ้ายกทองชั้นสูงแบบราชสำนักไทยโบราณ โดยมี อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย เป็นแกนนำและเป็นผู้รวบรวมชาวบ้านท่าสว่าง มารวมกลุ่มกันทำงานทอผ้ายามว่างจากงานไร่งานนา ด้วยการออกแบบลวดลายที่สลับซับซ้อนงดงามและศักดิ์สิทธิ์ ผสมผสานกันระหว่างลวดลายการทอแบบราชสำนัก กับเทคนิคการทอผ้าแบบพื้นบ้าน จนกลายเป็นผ้าทอที่มีความงดงามอย่างมหัศจรรย์และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ผลงานที่โดดเด่นของที่นี่คือการได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาล ให้ทอผ้าสำหรับตัดเสื้อผู้นำและผ้าคลุมไหล่สำหรับคู่สมรสผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจที่มาร่วมประชุมผู้นำเอเปกเมื่อปลายปี 2546 จนเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในชื่อ"หมู่บ้านทอผ้าเอเปก"และรางวัล OTOP ระดับ ดาว ของประเทศ
       ความโดดเด่นของผ้าไหมยกทอง "จันทร์โสมา" เกิดจากการเลือกเส้นไหมน้อยที่เล็กและบางเบานำมาผ่านกรรมวิธีฟอก ต้มแล้วย้อมสีธรรมชาติด้วยแม่สีหลักสามสีคือสีแดงจากครั่ง สีเหลืองจากแก่นแกแลและสีครามจากเมล็ดคราม สอดแทรกการยกดอกด้วยไหมทองที่ทำจากเงินแท้มารีดเป็นเส้นเล็กๆปั่นควบกับเส้นด้าย ใช้ตะกอเส้นพุ่งพิเศษที่ทำให้เกิดลายจำนวนตะกอมากกว่าร้อยตะกอ จนกระทั่งการวางกี่บนพื้นดินธรรมดามีความสูงไม่พอ ต้องขุดดินบริเวณนั้นให้เป็นหลุมลึกไป2-3 เมตร เพื่อรองรับความยาวของตะกอที่ห้อยลงมาจากกี่ให้เป็นระเบียบ ให้คนสามารถอยู่ในหลุมเพื่อสอดตะกอไม้ได้ด้วย เนื่องจากไม้ตะกอมีจำนวนมาก จึงต้องใช้คนทอถึง 4-5 คน คือจะมีคนช่วยกตะกอ 2-3 คน คนสอดไม้ คนและคนทออีก คน และความซับซ้อนทางด้านเทคนิคการทอ จะได้ผลงานเพียงวันละ 6-7 เซนติเมตรเท่านั้น
การเดินทางจากตัวเมืองสุรินทร์ใช้เส้นทางหลวงชนบท สร.4026 ประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางตลอด


หมู่บ้านจักสานบ้านบุทม

อำเภอเมือง จ.สุรินทร์
     หมู่บ้านจักสานบ้านบุทม ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองที อำเภอเมือง การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 226 จากตัวเมืองไปทางอำเภอศรีขรภูมิประมาณ 12 กิโลเมตร ในช่วงนอกฤดูทำนาชาวบ้านจะมีอาชีพพิเศษด้วยการสานตะกร้าและภาชนะต่าง ๆ ที่ทำจากหวายเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ และเป็นของที่ระลึกเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว

ตลาดการค้าช่องจอม

อำเภอกาบเชิง จ.สุรินทร์
       ตลาดการค้าช่องจอม ตั้งอยู่ที่บ้านด่านพัฒนา ตำบลด่าน ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ 69 กิโลเมตร หรือห่างจากตัวอำเภอกาบเชิง 13กิโลเมตร เดิมอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งซ้ายห้วยทับทัน-ห้วยสำราญและประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตั้งแต่ 30 ธันวาคม2538 ฝั่งตรงข้ามด้านกัมพูชาเป็นชุมชนโอร์เสม็ด อำเภอสำโรง จังหวัดอุดรมีชัยช่องจอมเป็นเส้นทางข้ามแดนที่ใหญ่และสะดวกที่สุดของจังหวัดสุรินทร์
ที่จะไปยังกัมพูชา ทำให้มีการติดต่อสัญจรไปมาและซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างชาวไทยและกัมพูชามาเป็นเวลาช้านาน และเป็นที่มาของแนวความคิดในการเปิดจุดผ่านแดนเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งสองประเทศตลาดแห่งนี้เปิดทำการค้าขายและสัญจรไปมาทุกวันเวลา 8.00-16.00 น. (อนุญาตให้ข้ามแดนเฉพาะคนไทยเท่านั้น) ประเภทสินค้ามีทั้งสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน และสิ่งประดิษฐ์จากไม้ เช่น ม้านั่ง หัตถกรรมไม้ เสื่อสานไม้ไผ่ ตะกร้าสานต่าง ๆ
       การเดินทาง ใช้เส้นทางสุรินทร์-ช่องจอม ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ 69 กิโลเมตร และห่างจากตัวอำเภอกาบเชิง 13กิโลเมตร
ห้วยเสนง

       ห้วยเสนง เป็นอ่างเก็บน้ำของโครงการชลประทาน อยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ไปทางถนนสายสุรินทร์-ปราสาท (ทางหลวงหมายเลข 214) ประมาณ กิโลเมตร บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 5-6 แยกซ้ายมือไปทางถนนริมคลองชลประทาน ประมาณ กิโลเมตร ห้วยเสนงนี้เป็นอ่างเก็บน้ำที่มีสันเขื่อนสูง บนสันเขื่อนเป็นถนนลาดยาง เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองสุรินทร์ และภายในที่ทำการชลประทานมีพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
 

เขตอนุรักษ์พันธุ์ไม้สนสองใบ



อำเภอลำดวน จ.สุรินทร์
        เขตอนุรักษ์พันธุ์ไม้สนสองใบ อยู่ที่บ้านหนองคู ตำบลโชกเหนือ อำเภอลำดวน เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์ไม้สนสองใบที่ถือว่าเป็นพันธุ์ที่ดีที่สุดที่ขึ้นในที่ราบสูง เป็นโครงการร่วมระหว่างไทย-เดนมาร์ก มีเนื้อที่ 625 ไร่ มีลักษณะเด่นคือ เป็นสนสองใบที่ขึ้นในที่ราบแห่งเดียวในประเทศไทย อยู่ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ประมาณ 35 กิโลเมตร ตามเส้นทางสุรินทร์-สังขะ (ทางหลวงหมายเลข 2077) เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวสุรินทร์อีกแห่งหนึ่ง




ประเพณีวัฒนธรรมและของชาวสุรินทร์



เพลงและการละเล่นพื้นบ้าน 
      
       1. เพลงกันตรึ จะใช้ภาษาเขมร ไม่นิยมร้องเป็นเรื่องราวแต่จะคิดคำกลอนให้เหมาะกับงานที่เล่น หรือใช้บทร้องเก่าๆ ที่จดจำกันมา การเล่นกันตรึมจะมีผู้เล่นหญิง - ชายร้องโต้ตอบกัน มีการ ฟ้อนรำประกอบ
       2. เจรียง เป็นการขับหรือออกเสียงทำนองเสนาะ ใช้กลอนสดเป็นส่วนใหญ่ในการขับขานนิทานชาดก
และเกี่ยวกับพุทธศาสนา ตลอดจนบรรยายเหตุการณ์ในอดีตและปัจจุบัน
       3. เจรียงเบริน เป็นการร้องโต้ตอบระหว่างชาย-หญิงเป็นทำนองลำโดยมีแคนเป็นเครื่องดนตรีประกอบ
       4. เจรียงซันตู เป็นการละเล่นเกี้ยวพาราสีในงานเทศกาลหรืองานมงคลต่างๆฝ่ายชายจะใช้เบ็ด
ที่มีขนมเป็นเหยื่อล่อหลอกหยอกล้อฝ่ายสาว
      5. เรือมอันเร (ลูดอันเร) จะเล่นกันในวันหยุดสงกรานต์ อุปกรณ์ประกอบการเล่นประกอบด้วย
สาก อัน ยาวประมาณ 2-3 เมตร ทำจากไม้เนื้อแข็ง ไม้หมอนรอง วางรองหัว - ท้าย สากสูง 
ประมาณ 3-4 นิ้ว

       6กะโน้ปติงต็อง เป็นการละเล่นที่เลียนแบบลีลาท่าทางการเคลื่อนไหวของตั๊กแตนตำข้าว เป็นการเต้น
เพื่อความสนุกสนานในวงมโหรี
 7. เรือมอายัย เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่ร้องโต้กลอนสดเกี้ยวพาราสีระหว่างหนุ่มสาวเมื่อร้องจบ แต่ละวรรค จะมีลูกคู่ร้องรับและมีเครื่องดนตรีบรรเลงรับ ท่ารำไม่มีแบบแผน นิยมเล่นใน  งานเทศกาลต่างๆ
       8เรือมตรษ (ตรุษ) เป็นการเล่นในเทศกาลสงกรานต์ คณะที่เล่นมีทั้งมีผู้รำและผู้ร้องผ่านมาตามบ้าน
ต่างๆ ในหมู่บ้าน
       9. ซาปดาน
 เป็นการรำประกอบเพลงกันตรึมซึ่ง มีความหมายว่าเลิกหรือหยุด 

ประเพณีการแต่งกาย
       
การแต่งกายของชาวสุรินทร์ เชื้อสายเขมร มีลักษณะคล้ายคลึงกับคนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แทบทุกประเทศ นั่น คือ ผู้ชายนุ่งโสร่ง ผู้หญิงนุ่งซิ่น แต่ความแตกต่างอยู่ที่วัสดุที่ใช้ในการทำโสร่งหรือซิ่น ชาวสุรินทร์ นิยมใช้ไหม ในการทำสิ่งเหล่านี้ สตรีชาวสุรินทร์ ยามอยู่บ้านตามปกติจะนิยม ใส่ผ้าซิ่นไหมที่ทอสลับสีกัน ถ้าเป็นผ้าซิ่นสีเขียวขี้ม้าสลับขาว เรียกว่า ผ้าสระมอ ส่วนผ้าสีส้มสลับขาว เรียกว่า ผ้าสาคู แต่ถ้าหาก ไปงานสำคัญหรืองานพิธีต่างๆที่ต้องออกจากบ้าน มักนิยมใส่ผ้าซิ่นที่มีลักษณะ สวยงามเป็นพิเศษ เช่น ผ้าโฮล หรือผ้ามัดหมี่ ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อผ้าไหมที่ทอยกดอก และมีสไบเฉียงเป็นลายยกดอกด้วย 
ประเพณีโกนจุก
       ชาวสุรินทร์ ในอดีตนิยมไว้ผมให้กับเด็กๆ เนื่องจากมีความเชื่อว่า ผมจุกตรงกระหม่อมช่วยกันไม่ให้ กระหม่อมที่บาง โดนน้ำค้างซึ่งอาจทำให้เด็กเป็นหวัดได้ พออายุประมาณ 9,11,13 ขวบ ซึ่งโตแล้วต้องทำพิธีตัดจุกออกเสีย พิธีโกนจุกจึงมีขึ้น การเตรียมพิธีโกนจุกนั้นมีอยู่หลายอย่าง สิ่งแรก คือ ขนมชนิดต่างๆ ต่อมาก็มีบายศรี เมื่อทำบายศรีเสร็จก็เอาผ้าไหมใหม่ๆหุ้มห่อบายศรีนั้นไว้ ปะรำพิธีสำหรับพระสงฆ์ และเด็กขึ้น ทำพิธีโกนผม เป็นลักษณะเสาต้นกล้วยประกอบไม้ไผ่มีปลาย แหลมข้างบน พิธีจะเริ่มในตอนเย็น โดยนิมนต์พระสงฆ์ มาสวดมนต์เย็น ก่อนถึงเวลาสวดมนต์ จะจัดข้าวปลาอาหารสุกใส่ถาด มาเซ่นบอกผี ปู่ ย่า ตา ยาย ให้อวยพรให้ลูกหลานอายุมั่นขวัญยืน หลังจากนั้นแต่งตัวให้เด็กที่จะโกนจุกด้วยผ้านุ่งขาว มีผ้า ขาว เฉลียงบ่า อาจารย์จะเกล้าผมเด็ก เอาปิ่นปักผมให้ และมีกำไลจุกด้วย หลังจานั้นก็ใส่มงคล ซึ่งทำจากใบตาล ตัดแต่ง เป็นวงขนาดสวมหัวของเด็กพอดี ขณะที่สวมมงคลก็สวดคาถาไปพร้อมๆกัน ในปะรำพิธีนอกจากมี ต้นบายศรีแล้ว ยังมี "ประต็วล" (เป็นไม้ไผ่ผ่าซีกสานเป็นรูปร่างคล้ายกระดิ่งคว่ำหรือระฆังหงาย มีด้ามสั้นๆ สำหรับมัดติด กับเสา เอากระปุกน้ำใส่ ในนั้นเอากรวยห้า(ขันธ์ 5) ใส่ด้วยเชื่อว่าเป็นสถานที่รองรับพระพรหม ซึ่งเป็นเทพชั้นสูงไม่ลงถึงพื้นจึงต้องมีที่สถิตเพื่ออวยพร) มีกระเฌอข้าวเปลือก ใบขวาน ไข่ไก่ และ "บายปะลึง" (คือมีขันข้าว ไข่ไก่ น้ำตาลใส่ในขันเอาใบตองทำกรวยคว่ำครอบปิดไว้ มีใบตองที่ทำเสมือนธงยื่น ขึ้นไปด้วย และมีมะพร้าวอ่อนเตรียมไว้ด้วย) เมื่อแต่งตัวเด็กเสร็จ ก็พาไปนั่งที่ปะรำบนฟูกต่อหน้า "ปะต็วล” แล้ว เอาข้าวปลาอาหาร เครื่องเซ่นปู่ย่าตายาย ทำการเซ่นบอกว่าลูกหลานจะทำพิธีโกนจุกแล้ว ขอบอกให้ทราบขอเชิญ มากินมาดื่มเถิด สักครู่ก็ยกออกไปเซ่นพระภูมิเจ้าที่ข้างล่าง บอกเชื้อเชิญเช่นกัน เมื่อเสร็จแล้ว ก็นำถาดกลับมาพร้อมสายสิญจ์ ที่ถือว่าตายายให้พรมาแล้ว เอามาผูกแขนเด็กก่อนนิดหนึ่ง อวยชัยให้พรว่า บัดนี้หนูโตแล้ว ต่อไปขอให้ช่วยพ่อแม่ทำงานจะได้ เป็นที่พึ่งของพ่อแม่เมื่อแก่เฒ่า เมื่อทำพิธีเสร็จ ก็กินข้าวปลาอาหาร เมื่อพระสงฆ์นิมนต์มาถึง ก็พาเด็กไปนั่งประนมมือฟังพระ สวดมนต์จนจบแล้วทำพิธีสู่ขวัญ เสร็จแล้วโห่ ลา อาจารย์จะสวดมนต์ต่ออีกระยะหนึ่งเป็นเสร็จพิธีในวันนั้น ตอนเช้าวันโกนจุก จะแต่งตัวเด็ก ใหม่ คือแจกผมเป็น หย่อม เอาแหวนพิรอดที่ทำด้วยหญ้าแพรก วง มาผูกติด ผมจุก แล้วเกล้าจุกปักปิ่น สวมกำไลจุก สวมมงคล ทาแป้ง แต่งผ้าขาวทั้งชุด มีสร้อยคอทองคำ แหวนทองคำเต็มตัว เมื่อลงมา ถึงดิน อาจารย์ ว่าคาถา ขณะเดียวกันก็เดินวนประทักษิณเบญจา รอบ เสร็จแล้วก็พาขึ้นไปนั่งบนปะรำที่ทำลักษณะใบบัว พระสงฆ์ขึ้นตาม อาจารย์ขอสมาทานศีล 5 แล้วกล่าวคำให้สวดโกนจุก ในการทำพิธีโกนจุก จะให้เด็กนั่งตรงกลาง พระสงฆ์ ยืนทั้งสี่มุม มีบาตรน้ำมนต์ที่เอามาจากการสวดพระปริตตอนเย็น มีใบบัวลอยบนผิวน้ำในบาตร เมื่อตอนจะโกนจุกพระสงฆ์ สวดมนต์บทชยันโตฯ เป็นการสวดไม่ยาวนัก พระสงฆ์จะหยิบกรรไกรตัดแล้วนิดหนึ่ง แล้วโกนพอเป็นพิธี อาจารย์จะโกนต่อ จนเกลี้ยง โดยพระสงฆ์จะยังสวดมนต์และรดน้ำมนต์ต่อเนื่องเรื่อยๆจนเสร็จ ผมที่โกนเอาใบบัวรองรับแล้วเอาไปลอยสายน้ำ ที่ไหล บางคนเก็บเอาไว้บูชาก็มี
ประเพณีบวชนาค         ชาวสุรินทร์ ทั้งเขมร ส่วย ลาว ล้วนนับถือพุทธศาสนาทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อลูกชายมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ก่อนจะ มีเหย้ามีเรือน พ่อแม่จะต้องจัดการบวชเพื่อให้ได้ศึกษาพระธรรมในพุทธศาสนาก่อน ซึ่งส่วนมากจะทำก่อนเข้าพรรษา สิ่งที่จะขาดไม่ได้ในสังคมเขมรคือการเซ่นบอกกล่าวแก่วิญญาณบรรพบุรุษ มีการจัดสำรับข้าวปลาอาหารไปทำพิธี จุดธูปเทียน เซ่นบอกผี การสู่ขวัญนาคเป็นอีกพิธีหนึ่งในการบวชนาค เป็นการเรียกขวัญให้มาสู่ตัวเจ้าขอ
สิ่งที่ใช้ประกอบ ในพิธีสู่ขวัญมีดังนี้
         1. ข้าวสาร ขัน
         2.กรวย ธูป คู่ เทียน คู่ และเงินตามที่อาจารย์ถือต่างกัน
         3.ฝาเต้าปูน อัน หรือ อันก็มี 
         4.ด้ายผูกแขน 
         5.บายปะลึง 
         6.บายศรีต้น
        เมื่อได้มาแล้ว เขาจะปูเสื่อเอาฟูกพับครึ่ง วางหมอนบนฟูก เอาผ้าขาวปูทับอีกชั้นหนึ่ง ให้นาคมานั่งบนฟูกพนมมือ ฟังอาจารย์สู่ขวัญ เนื้อหาการสู่ขวัญส่วนใหญ่จะเป็นการบอกกล่าวเทวดา อารักษ์ บอกถึงประวัติการบวชนาค การเชิญขวัญ บอกถึงความลำบากยากเย็นในการฟูมฟักเลี้ยงดูของบิดามารดา และอวยชัยให้พรในการบวช เมื่อสู่ขวัญมีการโห่ร้องเอาชัย ต้อนรับขวัญ ผูกแขนเรียกขวัญ มีการจุดเทียนชัยส่งเทียน ต่อกันวนขวา ไปรอบๆตัวนาค รอบ การทำขวัญนาคเป็นการ อบรมผู้บวชอย่างหนึ่ง การแห่นาคไปบวช การบวชนาคนั้นนิยมบวชพร้อมๆ กันหลายๆคน การแห่นาคไปวัดจะใช้ช้างแห่นาคไป ซึ่งจะ แต่งแต้มตัวช้างอย่างสวยงาม การใช้ช้างในการแห่นาค บางครั้งเป็นการบ่งบอกถึงฐานะของผู้บวชด้วย
ประเพณีตรุษสงกรานต์ ตรุษสงกรานต์
         คือการทำบุญตามประเพณี ขึ้นปีใหม่ของชาวบ้านของไทย สำหรับชาวสุรินทร์เชื้อสายเขมร จะมีพิธีกรรม ดังนี้ ในวันแรม 13-14ค่ำ เดือน จะมีการหยุดทำกิจการงานทุกอย่าง ซึ่งเรียกว่า "ตอม" วัน เพื่อร่วมฉลอง วันขึ้นปีใหม่ ในวันขึ้น ค่ำ เดือน เป็นวันขึ้นเขาสวายเพื่อไปนมัสการพระพุทธรูปให้เป็นสิริมงคล และสาดน้ำ รดน้ำอวยพรผู้ใหญ่ ในช่วงวันหยุด วัน จะมีการละเล่นมากมาย อาทิ 
          1.เรือมตรษ เป็นการบอกบุญด้วยการร้องรำทำเพลง ซึ่งจะมีการจัดขบวนรำของหนุ่มสาว ไปตามบ้านต่างๆ เพื่อบอกบุญ เมื่อเจ้าของบ้านร่วมทำบุญแล้ว ก็จะมีการอวยชัยให้พร 
         2.การทำบุญหมู่บ้าน เมื่อเรือมตรษเสร็จแล้ว ก็จะมีการทำบุญหมู่บ้าน ก่อนถึงวันพิธีจะมีการก่อเจดีย์ทราย เพื่อเป็นสิริมงคลกับหมู่บ้าน มีการนิมนต์พระมาฉัน และมอบเงินที่ได้รับจากการเรือมตรษถวายวัด
          3.การเล่นสะบ้า ใช้เม็ดมะค่าโมง จำนวนข้างละ ๒๐๓๐ เม็ด ตั้งไว้ให้ฝ่ายตรงข้ามโยนลูกสะบ้าให้โดนล้ม ถ้าฝ่ายใดโยนล้มหมดก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ และจะได้เข็กหัวเข่าผู้แพ้ 
ประเพณีบุญวันสารท(แซนโดนตา)
       เป็นการทำบุญเพื่อรำลึกถึงผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่อแสดงความ กตัญญูต่อผู้หลักผู้ใหญ่ที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งมีขึ้นในช่วง วันขึ้น ๑๔๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐
ประเพณีโดนตา 
        เป็นประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญที่ปฏิบัติทอดกัน มาอย่างช้านานของชนเผ่าเขมรเป็นการแสดงออก ถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ สะท้อนให้เห็นถึงความรักความกตัญญูของสมาชิกในครอบครัว โดนตา หมายถึง การทำบุญให้ยาย และตา หรือบรรพบุรุษที่ล่วงลัยไปแล้ว ตรงกับวันแรม ๑๔ ค่ำเดือน ๑๐ ชาวเขมรถือว่า เป็นวันรวมญาติซึ่งทุกคนจะไปรวมกัน ณ บ้านที่จุดศูนย์กลางของครอบครัวโดยเฉพาะ บ้านของผู้ที่อาวุโส ที่สุดของครอบครัว ผู้ที่จะมาต้องเตรียมของเซ่นไหว้ เช่น ไก่ เนื้อ หมู ปลา ข้าวสาร ข้าวสวย กล้วย ผลไม้ ขนม กระยาสารท และข้าวต้มหางยาว ใส่กะเชอโดนตาเพื่อมาไหว้บรรพบุรุษของตนซึ่งส่วนใหญ่ จะประกอบพิธี ในช่วงบ่ายหรือตอนเย็น เริ่มจากผู้อาวุโสในครอบครัวทำพิธีเซ่นโดยกล่าวดังนี้ เครื่องเซ่นไหว้ "นะโมเมนะมัสการ อัญจัญตีวดา นองสถานทินิแนะสถานตีปะเสง ๆ เออะตองมะเหสะสะเมืองแดนสะเตือลเนิวนองสถานตีวนิแนะสถานตีปะเสง ๆ ออย ตองขมอยมีบาโดนตา ไถงนิ ไถงก็เจีย เวลีย์ก็เบอ ขยมซมอัญจืญโจลโมรับเกรือง โฮบปซา กะนองเวลียนิปรอม ๆ คเนีย โฮบปซากระยาบูเจียกะนองเวลียนิออปรวม ๆ คเนีย (แล้วรดน้ำอัญเชิญพร้อมกล่าวว่า ) แม เอิว แยย ตา โมดอลเหย ออยเลียงใดเลียงจึงโมโฮบปซา แดลโกนเจารีบตะตูล เมียนสรา นมเนกเจกอันซอม กรุบกรึงเหยนา อัญจือโมโฮบปซาออยบอมโบร " (รออีกระยะประมาณ ๓-๔ นาที ก็รินน้ำ เหล้า น้ำส้ม โดยรินให้ครบ ๓ ครั้ง) ในช่วงเย็นก็จะนำกะเชอโดนตาไปวัดและค้างคืนที่วัดพอถึงเวลาประมาณตีห้าครึ่งจึงนำกระเชอไปเทที่หน้าวัด เพื่อทำทานให้ผีไม่มีญาติ สำหรับผู้ที่อยู่ทางบ้านจะเตรียม "บายบัดตะโบร" หมายถึง กระทงใส่ก้อนข้าวสุกจำนวน ๔๙ ก้อน(เนื่องจากเชื่อว่านางวิสาขาปั้นอาหารมาถวายพระพุทธเจ้า พระองค์ฉันเพียง ๔๙ เม็ด เท่านั้น) เพื่อนำไปถวายพระในตอนเช้า เสร็จพิธีแล้วจะนำบายบัดตะโบรไปใส่ไร่นา เพื่อให้เกิดความสิริมงคลข้าวปลาในไร่นาจะได้อุดมสมบูรณ์ต่อไป ขอขอบคุณ
 ประเพณีแข่งเรือ
       อำเภอท่าตูมเป็นชุมชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำมูลมากกว่า ๑๐๐ ปี เป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นเมืองท่าที่มีความสำคัญในการคมนาคม ทางน้ำที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ จึงทำให้มี ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมา ชาวท่าตูมมีความผูกผันกับแม่น้ำมูล มาโดยตลอดเป็นเวลาช้านาน โดยอาศัยแม่น้ำมูลเป็นแหล่งน้ำในการอุปโภคและบริโภคเพื่อการเกษตร การคมนาคม ดังนั้นในทุกปีชาวท่าตูมจะได้รำลึกถึงพระคุณของแม่น้ำมูล โดยร่วมกันฉลองหลังฤดูเก็บเกี่ยว ทุกหมู่บ้าน ริมแม่น้ำมูลได้ร่วมกันนำขบวนเรือยาวมาทอดกฐินร่วมกัน และนำเรือยาวมาร่วมแข่งขันกัน เพื่อความสนุกสนาน รื่นเริงและความสามัคคีของชาวท่าตูม และได้ดำเนินกิจกรรมดังกล่าวสืบทอดมาเป็นเวลาช้านาน ปัจจุบันชาวท่าตูม ได้จัดแข่งขันเรือยาวแระเพณีเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีให้คงสืบต่อไป โดยจัดแข่งขันประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี ณ บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำมูล และเปิดโอกาสให้เรือยาว และกองเชียร์จากอำเภอท่าตูม ต่างจังหวัดมาร่วมแข็งขัน ชิงชัยเป็นจำนวนมาก 


ประเพณีแซนแซร
        ประเพณีแซนแซร เป็นประเพณีที่เกี่ยวกับการทำนา ก่อนที่จะลงมือทำนาในฤดูฝนแล้ว ชนชาวส่วยจะทำพิธีที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ แซนแซร์ "แซน" แปลว่า เซ่น "แซร" แปลว่า นา หรือ ที่นา การประกอบอาชีพทำนาของชนชาวส่วย จะขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศเป็นสำคัญ เนื่องจากการทำนาจะทำได้เพียงปีละ ๑ ครั้ง ดังนั การทำนาของชาวส่วย จึงต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก พิธีกรรมที่สำคัญคือการแซนแซร์การแซนแซร์ จะกระทำอยู่ ๓ ขั้นตอน คือ ๑ ทำก่อนลงมือปักดำ เรียกว่า " แองัย " (เอาวัน) "แองัย" เป็นการกำหนดวันที่จะลงมือปักดา หรือไถนาดะ โดยจะนำ เครื่องเซ่นไหว้ไปบอกเจ้าที่นาก่อน เพื่อให้เจ้าที่ได้รับทราบว่าจะลงมือปักดำแล้ว ๒ ทำหลักเสร็จสิ้นการปักดำ เป็นการบอกเจ้าที่ให้ช่วยดูแลต้นข้าว ให้เจริญงอกงาม ให้ได้ผลผลิตมาก ๆ ๓ ทำหลักการเก็บเกี่ยว เป็นการบอกขอบคุณเจ้าที่นา ที่ช่วยให้การทำนา ในครั้งนี้ได้ผลดี วัน เวลา ปฏิบัติในฤดูการทำนา และจะทำพิธีในตอนเช้า
อุปกรณ์ที่ใช้ในการแซนแซร
        ๑. ข้าวสุก ๑ จาน ๘. ไก่ต้ม ๑ ตัว 
       ๒. ข้าวต้มมัด ๔ มัด ๙. กล้วยสุก ๔ ผล วาง ๔ มุม
        ๓. ก้อนดิน ๑ ก้อน ๑๐. มัดกล้า ๑ มัด 
       ๔. เหล้าขาว และน้ำอัดลมอย่างละ ๑ ขวด ๑๑. น้ำเปล่า ๑ ขัน น้ำขมิ้น
        ๕. ผ้ายชุบขมิ้น ( เอาเรียกขวัญนาเจ้าของนา) ๑๒. ธูป เทียน 
        ๖. ไม้ไผ่ ( ทำเป็นทีปักข้าวตอก )เป็นสัญลักษณ์ดอกข้าว 
       ๗. ทำร้านโดยใช้ไม้ไผ่ หรือไม้อื่น ๆ ( ทำเป็น ๔ มุม เสา ๔ ต้น )
         คำที่ใช้เรียกขวัญข้าว เป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือภาษาส่วย กล่าวดังนี้ "เจาเยอ อะเวียซอ แอเวียซอดัวะ บิออนจิเนียเจาเนีย มอแนะ ออนบึนซอดาล ๆ ผู้ที่ปฏิบัติในการแซนแซร์ 
        1. เป็นเจ้าของนา
         2.คนแก่คนเฒ่า 
        3.คนอื่น ๆ ที่เจ้าของนามอบหมาย 
 การถือปฏิบัติ จะปฏิบัติทุกครั้งในฤดูทำนา เพราะถ้าไม่ปฏิบัติ จะทำให้เจ้าของนา หรือลูกหลานเจ็บไข้ หรือป่วยได้ 
        เจาเยอ แปลว่า มาเด้อมา (เป็นคำเรียกหา)
         อะเวียยซอ แปลว่า ขวัญข้าว
        แอ แปลว่า เอา
       บิออนจิเนีย แปลว่า ไม่ให้ไปไหน
        ดัวะ แปลว่า ไว้ เก็บไว้
        มอแนะ แปลว่า ปีนี้
       ออนบืนดาล แปลว่า ให้ได้มาก ให้ได้เยอะ ๆ
ประเพณีเซ่นผีปะกำ 
      ส่วย กวย หรือกูย เป็นชื่อเรียกของชนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีฐานะเป็นชนชาติมาแล้วในอดีต มีภูมิลำเนาและอาณาเขตการปกครอง ของตนเองเหมือนชาติอื่น ๆ มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนให้ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แคว้น อัตปือแสนแป ต่อมาได้เดินทางอพยพข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาทางตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทยอละแยกย้านกันไปตั้งหลักแล่งในจังหวัดต่าง ๆ เช่น จังหวัดอุบลราธานี ศรีสะเกษ และจังหวัดสุรินทร์ บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วย ๑๕๗ ครอบครัว ชาวบ้านส่วนใหญ่คือ ชาวกวย เลี้ยงช้างที่ปฏิบัติสืบทอดมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่มีช้าง จำนวนมากว่าหมู่บ้านอื่น มีช้างประมาณ ๕๐ เชือก ทางราชการจึงกำหนดให้บ้านตากลาง เป็นหมู่บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์ เป็นที่รู้จักแก่บุคคลโดยทั่วไปที่ได้ชม ประเพณีแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์ ชาวบ้านตากลางได้ร่วมกันนำช้างของตนเข้าร่วมแสดงเป็นประจำทุกปี ชนชาวส่วยและการแต่งกาย ชนชาวส่วยหรือกูย มีความยึดมั่น และเคร่งครัดในประเพณีเป็นอย่างมาก มีความเชื่อเรื่องของผีสางเทวดา ไม่ลบหลู่สิ่งที่ตนเองเคารพบูชา ซึ่งในแต่ละครอบครัวจะมีผีซึ่งตนเองเคารพอยู่ประจำ ที่เราเรียกว่า "ผีปะกำ" ลักษณะความเป็นอยู่ของชนชาวส่วย โดยส่วนมากแล้วจะชอบอยู่เป็นกลุ่มโดยเฉพาะลูกหลานที่แต่งงานแล้ว จะแยกครอบครัวออกจากครอบครัวใหญ่ พ่อ - แม่ ก็จะสร้างบ้านในที่ติดกันกับบ้านหลังเดิม หรือไม่ก็ต่อชานเรือน ให้ลูกอยู่ จึงดูเป็นครอบครัวใหญ่ การประกอบอาชีพ ในอดีตชาวส่วยมีอาชีพสำคัญคือ การคล้องช้างป่ามาฝึก เพื่อขาย หรือนำช้างไปใช้งาน แต่ในปัจจุบัน อาชีพดังกล่าว ไม่มีอีกแล้ว แต่มีการฝึกช้างไปใช้ในการแสดง หรือการท่องเที่ยวมากกว่า และอาชีพที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาชีพทำนา และในเวลาที่ว่างจากการเก็บเกี่ยว ชาวส่วยจะนำช้างออกไปเร่ขายสินค้าที่ทำมาจากงาช้าง หรือขนหางช้าง เช่น แหวนงาช้าง กำไลงาช้าง น้ำมันช้าที่ผ่านการปลุกเสกพระงาช้าง เป็นต้น ซึ่งสามารถทำรายได้ให้กับชาวส่วยพอที่จะเลี้ยงครอบครัวได้ การเซ่นผีปะกำ จะกระทำก็ต่อเมื่อมีการไปคล้อง้าง พิธีแต่งงาน หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่คนในครอบครัวจัดให้มีขึ้น เพราะมีความเชื่อว่า ถ้าไม่ได้เซ่นผีปะกำของตนเองแล้ว จะมักให้มีอุปสรรคต่างๆ มากมาย แต่ถ้าได้เซ่นผีปะกำถูกต้องตามประเพณีแล้ว จะทำให้ชีวิตมีแต่ความสงบสุข และการกิจกรรมดังกล่าว จะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี การประกอบพิธีเซ่นผีปะกำ ก่อนที่จะกระทำสิ่งไดก็ตาม เช่น การออกไปคล้องช้าง หรือการแต่งงาน จะต้องเซ่นผีปะกำก่อน
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเซ่นผีปะกำ  
       ๑.หัวหมู ๑ หัว พร้อมกับเครื่องในหมูทุกชนิด ๗.บุหรี่ ๒ มวน
         ๒.ไก่ต้มสุก ๑ ตัว ๘.ข้าวสวย ๑ จาน 
        ๓.เหล้าขาว ๑ ขวด ๙.แกง ๑ ถ้ว
       ๔.กรวยใบตอง ๕ กรวย มีดอกไม้เสียบในกรวย ๑๐.ขมิ้นผง
        ๕.เทียน ๑ คู่ ธูป ๓ ดอก ๑๑.น้ำเปล่า ๑ ขัน 
        ๖.หมาก ๒ คำ ๑๒.ด้ายผูกแขน

 ประเพณีและวัฒนธรรม อำเภอท่าตูม 
        ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสุรินทร์ ที่มีวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ยึดถือปฏิบัติมาช้านานซึ่งมีหลายประเพณีที่มีความคล้ายคลึงกับที่อื่นๆ หากวิธีการปฏิบัติบางครั้งอาจ ไม่เหมือนกัน หรือมีความแตกต่างกันในบางอย่าง แต่ประเพณีต่างๆ เหล่านั้นก็ยังเป็นประเพณีที่ถือได้ว่า มีความสำคัญ เป็นอย่างยิ่งต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตตอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เป็นอย่างยิ่ง กรณีที่มีความเชื่อว่าเป็นดวงวิญญาณของบรรพบุรุษประจำหมู่บ้าน ที่ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองให้คนในหมู่บ้าน เกิดความร่มเย็น ปราศจากอันตราย จึงได้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ในวันสำคัญของประชาชนในเขตอำเภอท่าตูม เช่น ผีปู่ตา ผีปู่ตา หรือ ผีตาปู่ เป็นดางวิญญาณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วที่คอยปกป้องคุ้มครอง ให้คนในหมู่บ้าน มีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย ดังนั้น ผีปู่ตาจึงเปรียบเสมือนที่พึ่งทางใจของชาวบ้าน เมื่อได้รับ ความเดือดร้อน เช่น เจ็บป่วย พืชพันธุ์ธัญญาหารไม่อุดมสมบูรณ์ หรือทำมาค้าขายไม่ได้ดี ก็จะไป (บนบาน) เพื่อวิงวอนให้ให้เจ้าปู่ช่วยดลบันดาลให้ประสบตามความปรารถนา เมื่อได้ในสิ่งที่ปรารถนาแล้ว ผู้บนบานก็จะนำ อาหารคาวหวานมาแก้บน ด้วยเหตุนี้เอง ผีปู่ตา จึงเป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่ผูกพันกับการดำเนินชีวิต ของชาวอีสานโดยเฉพาะชาวอำเภอท่าตูม มาโดยตลอด ผีปู่ตา ยังเป็นแหล่งรวมจิตใจของผู้คนในชุมชน ไม่แบ่งแยกฐานะคนในสังคมว่า เป็นคนรวยหรือคนจนก่อให้เกิดความสามัคคีในชุมชนได้ ในแต่ละหมู่บ้าน จะสร้างศาลปู่ตา หรือเรียกว่า "ตูบปู่ตา" ไว้ประจำหมู่บ้านการสร้างศาลปู่ตามักจะสร้างบริเวณทางเข้าหมู่บ้าน หรือบริเวณที่มีต้นไม้ใหญ่ พิธีกรรมการติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์กับดวงวิญญาณ จะกระทำเป็นประจำ ทุกปีเรียกว่า"การเลี้ยงผีปู่ตา" โดยทั่วไปมักจะกำหนดข้างขึ้นเดือนหก ก่อนฤดูกาลทำนา ก่อนถึงวันพิธี ชาวบ้านจะไปช่วยกันถากถางทำความสะอาดบริเวณตูบปู่ตา สำหรับผู้ที่จะไปไหว้ จะต้องนำเครื่องเซ่นไว้ เช่น อาหารคาวหวาน ไก่ เหล้า ไปถวายปู่ตาพร้อมกับคนอื่น ๆ เมื่อได้เวลาอันสมควรหมอจ้ำ (ตัวกลางผู้ทำพิธี) จะจัดเตรียมเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ถาด เสื่อ มีดดาบ ของ้าว เสื้อคลุม ไว้ในที่เหมาะสม การเริ่มพิธีบูชาเจ้าปู่ ชาวบ้านจะนำดอกไม้ ธูปเทียน ไปบูชา เจ้าปู่พร้อมทั้งกล่าวความสรุปได้ว่า "ประชาชนทุกคนในที่นี้เป็นลูกบ้าน ที่เปรียบเสมือนเป็นลูกหลานของเจ้าปู่ ได้พร้อมใจกันนำเครื่องเซ่นไว้มาถวายเจ้าปู่ ขอได้โปรดให้เจ้าปู่รับของถวาย ของเหล่านี้ด้วย พร้อมทั้งขอให้ลูกหลานในที่นี้ได้มีโอกาสชื่นชมบารมีอภินิหารของเจ้าปู่ ขอให้เจ้าปู่เข้าซูน (เข้าร่าง) หมอจ้ำ" เมื่อเจ้าปู่เข้าซูมแล้วหมอจ้ำจะเดินพูดคุยกับชาวบ้านด้วยเรื่องราวต่างๆ นาๆ ตามแต่ชาวบ้านจะซักถาม เช่นเรื่องเจ็บป่วยต่าง ๆ ของหาย ฟ้าฝนจะตกต้องตามฤดูกาลหรือไม่ ตลอดจนการกลับมาของญาติที่จากไปนาน จึงนับได้ว่าเป็นโอกาสที่มนุษย์ได้ติดต่อกับดวงวิญญาณ จาการพิจารณาอากัปกริยาของหมอจ้ำ การจรรโลงไว้ซึ่งจารีตประเพณีของท้องถิ่นอันเนื่องด้วยพิธีกรรมต่างๆ อย่างมั่นคง คนทั่วไปอาจมองเห็นว่า ทางด้านความเชื่อ วิถีชีวิตขอองชาวอีสานได้เปลี่ยนแปลงไปจนแทบจะไม้เหลือร่องรอยวัฒนธรรมที่ดีงาม เหมือนในอดีตก็ตาม แต่ในความเป็นจริงแล้วชาวอีสานยังมีจิตใจสำนึกในการประพฤติปฏิบัติตามฮีต ((จารีต) สืบต่อกันมา ถึงแม้ว่าในการจัดพิธีกรรมต่างๆ จะต้องปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางวังคม เศรษฐกิจ และเวลาให้สอดคล้องกันเพื่อความเหมาะสมกับยุคสมัยปัจจุบัน แต่สังคมชนบทอย่างอำเภอท่าตูมยังสืบทอดมาจากพรรพบุรุษอย่างต่อเนื่องตลอดมาจนกระทั่งถึงปัจจบันอย่างไม่มีวันที่จะเสื่อมคลายงานประเพณีบวชนาคแห่ช้าง
       ประเพณีบวชช้าง จัดขึ้นในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดื่อน 6 (ราวกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ณ วัดแจ้งสว่าง บ้านตากลาง อ.ท่าตูม จะมีการแห่แหนบรรดานาคด้วยขบวนช้างกว่า 50 เชือก ข้ามลำน้ำมูลกันอย่างเอิกเกริกพิธีโกนผมนาคพิธี แห่นาคช้างไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ ศาลเจ้าพ่อวังทะลุ และพิธีอุปสมบท งานช้างสุรินทร์
       จังหวัดสุรินทร์ เป็นถิ่นฐานของชาวไทยเชื้อชาติสายกูย เป็นขนเผ่าที่เชี่ยวชาญการจับช้าง เลี้ยงช้าง และฝึกช้างมาแต่อดีตกาล แม้วันนี้การคล้องช้างป่าจะยุติไปแล้วแต่พวกเขายังเลี้ยงช้างไว้ดั่งสัตว์เลี้ยงของครอบครัว ชาวสุรินทร์ได้เคยทำชื่อเสียงให้แต่ประเทศไทยมาแล้ว และเมื่อ "การแสดงของช้าง" ได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2503 นั้น ทำให้นามของจังหวัดสุรินทร์เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งไทยและขาวต่างประเทศตลอดมางานช้างสุรินทร์ จัดขึ้นในวันเสาร์-อาทิตย์ สัปดาห์ที่ ๓ ของเดือนพฤศจิกายน ในงานจะมีการแสดงต่างๆ ของช้าง เช่น ช้างเล่นฟุตบอล ช้างเต้นระบำ ขบวนพาเหรดของช้าง ขบวนช้างศึก เป็นต้นนาค

 โรงแรม

การคมนาคม

       จังหวัดสุรินทร์ เป็นเมืองหลักของภาคอีสานตอนล่าง เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ อุตสาหกรรมและการคมนาคม จึงมีเส้นทางคมนาคมหลักทั้งทางรถยนตร์ รถไฟมีทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด และเส้นทางมาตรฐานหลายสาย ทำให้การเดินทางติดต่อภายในจังหวัด การเดินทางสู่จังหวัดใกล้เคียงและกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความสะดวก

ทางรถยนต์

       การเดินทางจากกรุงเทพฯ มายังจังหวัดสุรินทร์ใช้ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธินผ่านจังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพผ่านจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 24 ผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 214 (ตรงแยกอำเภอปราสาทจนถึงจังหวัดสุรินทร์


การเดินทางในตัวจังหวัด

       การคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ของจังหวัดสุรินทร์ระหว่างชนบท หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัดต่าง ๆ มีความสะดวก เพราะมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมติดต่อกัน การเดินทางโดยรถยนต์ระหว่างจังหวัดกับอำเภอ ระยะทางที่ไกลที่สุดคือ อำเภอชุมพลบุรี ระยะทาง 91 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง ชั่วโมง ระยะทางที่ใกล้ที่สุดคือ อำเภอเขวาสินรินทร์ ระยะทาง 14 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 30 นาที โดยระยะทางจากตัวจังหวัด (อำเภอเมืองสุรินทร์) ไปยังอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดสุรินทร์ เรียงจากใกล้ไปไกล ดังนี้